วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ตารางการเฝ้าดูตู้ฟักไข่ตั้งแต่เริ่มต้น


เริ่มต้นในการนำไข่จำนวน 7ฟองเข้าในตู้ฟักในวันที่ 15 /06/10 เวลาประมาณ21.30น
อุณหภูมิยังไม่ถึงค่าที่ไข่จะฝักครับ อุหภูมิอยู่ที่ 33-35 องศาครับ สาเหตุที่1 น่าจะเป็นกับตู้ใหญ่ แล้วใส่ไฟไม่พอ
สาเหตุที่2 น่าจะเป็นกับพัดลมดูดอากาศแรงเกินไป
สาเหตุที่3 น่าจะเป็นจากการเจาะรูอากาศเข้าออกใหญ่เกินไป
สาเหตุที่4 น่าจะเป็นตู้ปิดไม่มิดครับ
ซึ้งทั้งหมดนี้ยังเป็นการทดลองอยู่ครับ เพื่อที่จะได้หาสาเหตุทั้งหมดแล้วนำมาแก้ไข่ระบบให้ดีขึ้นครับ

จากการจดบันทึก ระยะเวลา 4-5 ชั่วโมงในการนำไข่เข้าไปอุหภูมิยังไม่คงที่ครับตอนนี้เวลาปรมาณ01.30น.
อุหภูมิอยู่ที่ 33-35 องศาครับยังไม่ได้ตามกำหนดผมได้ทำการปิดรูระบายให้เล็กลงครับแล้วรอดูอุหภูมิต่อไปทั้งหมดต้องใช่เวลาอีก 6 วันครับก่อนจะนำไข่มาส่องดูว่าเน่าไม่เน่าครับ เป็นการเดิมพันเหล่าไก่ชนของลุงกทม เลยนะครับท่าเน่าเหล่าหลักของลุง สูญแน่ครับ ยังไงผมจะลงเหตูการความเคลื่อนไหวตลอดนะครับ

5 ความคิดเห็น:

  1. ขณะนี้เวลา 03.00 ยังอยู่ในการเฝ้าสังเกตุปัญหาของเครื่องฝักไข่ครับ
    สรุปพอรู้สาเหตุเบื้องต้นแล้วครับจากการคอยสังเกตุ
    ที่วัดอุณหภูมิ บอกค่าไม่ตรงกันครับสายที่นำเอาเข้าไปในตู้บอกอุณหภุมิไม่ตรงครับ โดยการที่ผมนำเอา
    เครื่องงเข้าไปแล้วเปลื่อนตำแหน่งให้บอกค่าที่ตัวเครื่อง แล้วค่าออกมาน่าพอใจมากครับ อยู่ที่37.4 องศา เวลาเคร่องตัดที่ 37.6 องศา ท่าอุณหภุมิลดลงเหลือ ประมาณ36.2 องศา เครื่องก็จะทำงานต่อครับ

    จากการจดบันทึกการเปลื่อนแปลงค่า 10

    ครั้งที่1 อุณหภูมิอยู่ที่ 37.4 แล้วตัดไฟเอง ไฟเริ่มทำงานต่อเมื่อ36.6 ใช่เวลาในการทำงาน 9 วิถึงจะได้37.4
    ครั้งที่2 อุณหภูมิอยู่ที่ 37.4 แล้วตัดไฟเอง ไฟเริ่มทำงานต่อเมื่อ36.1 ใช่เวลาในการทำงาน 1นาที5วิ วิถึงจะได้36.9แล้วตัดไฟ
    ครั้งที่3 อุณหภูมิอยู่ที่ 36.9 แล้วตัดไฟเอง ไฟเริ่มทำงานต่อเมื่อ36.2 ใช่เวลาในการทำงาน 10วิ ถึงจะได้37.0แล้วตัดไฟ
    ครั้งที่4 อุณหภูมิอยู่ที่ 37.0 แล้วตัดไฟเอง ไฟเริ่มทำงานต่อเมื่อ36.4 ใช่เวลาในการทำงาน 20วิ ถึงจะได้36.9แล้วตัดไฟ
    ครั้งที่5 อุณหภูมิอยู่ที่ 36.9 แล้วตัดไฟเอง ไฟเริ่มทำงานต่อเมื่อ36.4 ใช่เวลาในการทำงาน 22วิ ถึงจะได้37.2แล้วตัดไฟ
    ครั้งที่6 อุณหภูมิอยู่ที่ 37.2 แล้วตัดไฟเอง ไฟเริ่มทำงานต่อเมื่อ36.4 ใช่เวลาในการทำงาน 22วิ ถึงจะได้37.2แล้วตัดไฟ
    ครั้งที่7 อุณหภูมิอยู่ที่ 37.2 แล้วตัดไฟเอง ไฟเริ่มทำงานต่อเมื่อ36.2 ใช่เวลาในการทำงาน 10วิ ถึงจะได้37.4แล้วตัดไฟ
    ครั้งที่8 อุณหภูมิอยู่ที่ 37.4 แล้วตัดไฟเอง ไฟเริ่มทำงานต่อเมื่อ36.2 ใช่เวลาในการทำงาน 5วิ ถึงจะได้37.5แล้วตัดไฟ
    ครั้งที่9 อุณหภูมิอยู่ที่ 37.5 แล้วตัดไฟเอง ไฟเริ่มทำงานต่อเมื่อ36.5ใช่เวลาในการทำงาน 15วิ ถึงจะได้37.2แล้วตัดไฟ
    ครั้งที่10 อุณหภูมิอยู่ที่ 37.2 แล้วตัดไฟเอง ไฟเริ่มทำงานต่อเมื่อ36.6ใช่เวลาในการทำงาน 10วิ ถึงจะได้37.4แล้วตัด

    ตอบลบ
  2. สรุปขั้นตอนการจัดการฟักไข่ไก่
    1. คัดเลือกไข่ไก่ที่จะเข้าฟักให้มีขนาด 50-65 กรัม มีรูปร่างไข่ปกติผิวเปลือกไข่เรียบ สม่ำเสมอ เปลือกหนาและไม่บุบร้าว

    2. รมควันฆ่าเชื้อก่อนนำเข้าห้องเก็บไข่ทุกๆ ครั้ง หลังจากข้อ 1

    3. เก็บรวบรวมไข่เข้าตู้ฟักทุกๆ 3-7 วัน ด้วยอุณหภูมิ 60-65 องศาF ความชื้น 75-80% หรืออุณหภูมิตุ้มเปียก 68 องศาF

    4. กลับไข่ในห้องเก็บไข่ทุกๆ วันๆ ละ 1 ครั้ง โดยการขยับถาดไข่ให้โยกเล็กน้อย หรือขยับถาดพอที่จะทำให้ไข่เคลื่อนที่จากที่ๆ อยู่เดิม

    5. ก่อนนำเข่เข้าตู้ฟักให้นำไข่ออกจากห้องเย็นผึ่งอากาศในอุณหภูมิห้องไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง หรือหนึ่งคืนก่อนนำเข้าตู้ฟัก

    6. เดินเครื่องตู้ฟักไข่ก่อนนำไข่เข้าตู้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง และตั้งอุณหภูมิและความชื้นดังนี้
    อายุการฟักไข่ อุณหภูมิ ความชื้น
    องศา C องศา F %RH ตุ้มเปียก
    1-18 วัน
    18-21 วัน 37.77
    37.2 100
    99 60
    61-65 84
    86-88 องศาF
    องศาF

    7. รมควันฆ่าเชื้อโรคอีกครั้งหนึ่งหลังจากจัดไข่เข้าตู้ฟักเรียบร้อยแล้ว โดยใช้ด่างทับทิม 17 กรัม+ฟอร์มาลีน 40% 30 ซีซี. ต่อปริมาตรตู้ฟัก 100 ลูกบาศก์ฟุต ขณะที่รมควันให้ปิดช่องอากาศเข้า-ออก และฝาตู้ฟักทั้งหมดเป็นเวลา 20-25 นาที จากนั้นจึงเปิดฝาตู้และช่องอากาศ และเดินเครื่องอีก 30 นาที เพื่อไล่ควันพิษออกให้หมดก่อนที่จะดำเนินการเดินเครื่องตามปกติ

    8. ปรับรูอากาศเข้าและรูอากาศออกตามอายุของไข่ฟัก ไข่ฟักอายุ 1-8 วัน ปรับรูอากาศเข้าให้เปิด 1 ใน 3 รูอากาศออก 1 ใน 2 และไข่ฟักอายุ 18-21 วัน ซึ่งเป็นระยะที่เตรียมลูกไก่ออกให้เปิดรูอากาศเข้าและออกเต็มที่ ในกรณีที่เปิดรูอากาศออกเต็มที่แล้ว ทำให้ความชื้นต่ำกว่าที่กำหนดในมาตรฐานให้ปรับรูอากาศออก 3 ใน 4 และเพิ่มถาดน้ำในตู้ฟักไข่ให้มากขึ้น

    9. เติมน้ำในถาดใส่น้ำอย่ให้ขาดและตรวจสอบกับอุณหภูมิของปรอทตุ้มเปียกให้ได้ 84-86 องศาF ถ้าหากอุณหภูมิต่ำกว่านี้ให้เพิ่มถาดน้ำให้มากขึ้นจนได้อุณหภูมิตามต้องการ

    10. บันทึกอุณหภูมิและความชื้นทุกๆ วันๆ ละ 2 ครั้ง คือ เวลาเช้า 7.00-8.00 น. และบ่าย 14.00-15.00 น. บันทึกลงในสุมดปกแข็งสำหรับใช้กับโรงฟักไข่โดยเฉพาะตามแบบฟอร์มและเปรียบเทียบกับมาตรฐาน

    วันที่ เวลาเช้า 7.00-8.00 น. เวลาบ่าย 14.00-15.00 น.
    อุณหภูมิ
    (องศาF) ความชื้น
    (องศาF) อุณหภูมิ
    (องศาF) ความชื้น
    (องศาF)
    1
    2
    3
    4
    .
    .
    .
    .
    30
    31

    11. กลับไข่ทุกๆ 1-2 ชั่วโมง ในกรณีตู้ฟักไข่ใช้คันโยกกลับไข่ ให้กลับวันละ 5-6 ครั้ง

    12. ส่องไข่เชื้อตายและไม่มีเชื้อออกเมื่อฟักได้ 7,14 และ 18 วัน แล้วลงบันทึกในแบบฟอร์มการฟักไข่แขงแต่ละรุ่มนสมุดปกแข็งประจำโรงฟักไข่

    13. ย้ายไข่อายุ 18 วัน ไปฟักในตู้เกิด (Hatcher) โดยให้ไข่นอนนิ่งบนถาดไข่และไม่มีการกลับไข่ในระยะ 3 วันสุดท้ายนี้ ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตมาก สร้างความร้อนขึ้นได้เองในตัวอ่อน จึงต้องลดอุณหภูมิของตู้เกิดให้เหลือ 98.9-99 องศาF แต่ความชื้นตุ้มเปียกเพิ่มขึ้นเป็น 88 องศาF

    14. ย้ายลูกไก่ออกจากตู้เกิดในวันที่ 21 ของการฟัก บันทึกข้อมูลจำนวนลูกไก่ที่เกิดและตายโคม คัดลูกไก่ที่ไม่สมบูรณ์และอ่อนแอออกพร้อมทั้งบันทึกความแข็งแรงหรือข้อสังเกตในช่องหมายเหตุของแต่ละรุ่น นำถาดไข่ที่เปรอะเปื้อนขี้ของลูกไก่แช่ไว้ในถังน้ำและใช้แปรงขัดให้สะอาด ล้างด้วยน้ำจืดอีกครั้ง แล้วนำไปตากแดดฆ่าเชื้อโรค ทำความสะอาดช่องที่เกิดลูกไก่ ปัดกวาดขนลูกไก่ออกและใช้ผ้าชุบน้ำถูพื้นและชั้นวางถาดก่อน จากนั้นจึงเะอาผ้าชุบน้ำละลายด่างทับทิมเช็ดถูพื้น และชั้นวางถาดไข่ทุกๆ ครั้ง ที่มีการนำลูกไก่ออกจากตู้เป็นการฆ่าเชื้อโรคในตู้เกิดลูกไก่

    15. ล้างถาดใส่ไข่ที่ใช้สำหรับวางไข่ฟักอายุ 1-18 วัน ทุกๆ สัปดาห์ก่อนนำไปใส่ไข่ฟักพร้อมทั้งทำความสะอาด กวาดฝุ่นบนหลังตู้ไม่ให้มีใยแมงมุมและวัสดุอื่นๆ อุดตันช่องอากาศออก ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่บนหลังตู้ฟักทุกๆ ตุ้ให้ทำความสะอาดทุกๆ เดือนๆ ละ 1 ครั้ง การปิดตู้ทำความสะอาดเดือนละ 1-2 ครั้ง จะไม่มีผลกระทบต่อการฟักไข่ ดังนั้น ทุกๆ ครั้ง ที่ทำความสะอาดภายในตู้ฟักจึงสมควรปิดเครื่องก่อนป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากไฟช๊อตและพัดลมตี

    ตอบลบ
  3. วันนีคอยดีการเปลื่อนอุณหภูมิอยู่ครับยังไม่นอน555

    ตอบลบ
  4. สวัดดีครับหลังจาก 2ทุ้มผมก็เข้ามีรับช่วงต่อจากคุณเคครับ อุณหภูมิ ดีมากครับช่วงนี้คงที่ครับคงเป็นเพราะเข้าที่เข้าทางแล้วครับ อยู่ที่37.2-37.4องศาครับผลต่อเนื่อยงจากเฝ้าทดลองจดบันทึกอุณหภูมิตลอดทั้ง คืนครับ โดยการลองปรับช่องอากาศบ้างให้เล็กให้ใหญ่ จนสามารถปรับอุหภูมิได้คงที่ครับ
    วันนี้ก็เป็นวันที่ 2แล้วครับ หยุดการกลับไข่วันที่ 3 กรกฏาคม ครับ ส่วนวันอังคารที่ 6 คงได้เห็นลูกไก่แล้วละครับท่าไม่มีอะไรผิดพลาด ท่าตู้นี้ให้ผลเป็นที่หน้าพอใจตู้ใบใหม่น่าจะสมบูรณ์กว่านี้แน่ครับ ใครมีข้อแนะนำยังไงช่วยกันนะครับ ต่อยอดครับจะได้ใช้ของไทยครับสู้สินค้จากนอกครับ

    ตอบลบ
  5. ตู้ฟักไข่ตอนนี้ตู้ฟักไข่มีแนวโน้มที่จะได้ผลเป็นที่น่าพอใจครับบ่ายนี้จะทำการส่องไข่ครั้งแรกครับคิดว่าไข่คงใช่ได้ทุกฟองครับ ท่าไม่เน่านะครับ

    ตอบลบ

ตอบกระทู้